ต้นจำปา ต้นไม้มงคล
ในศาลาเครื่องราชอิสริยยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์
จัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและหาชมได้ยาก
มีลักษณะรูปร่างคล้ายดอกไม้กลีบยาวร้อยต่อกันเป็นช่อพวงอุบะและห้อยเรียงต่อกันเป็นวงกลม
ทำด้วยโลหะมีค่าเช่น ทองคำและเงิน ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเรียกตามลักษณะของวัตถุว่า “ดอกจำปาทองคำ ดอกจำปาเงิน” ใช้แขวนประดับเพดานและมณฑปพระกระยาสนาน
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และใช้แขวนประดับพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร [๑]
ลักษณะการใช้งานดังกล่าวสัมพันธ์กับพระราชพิธีในราชสำนัก
อาจมีนัยยะบางประการแฝงอยู่ตามคติความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ
โดยไม่มีหลักฐานบันทึกไว้อย่างชัดเจน
ที่มาและความหมายของชื่อดอกจำปา
ดอกจำปาเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ราชสำนักสยามรู้จักมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ลักษณะโดยทั่วไปของดอกจำปาไทยเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่กว่าดอกจำปี มีสีเหลืองอมส้ม
กลีบดอกยาว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรวมกัน ๑๒ – ๑๕ กลีบ
กลีบด้านนอกเป็นรูปหอกกลับ ปลายเรียวแหลม กลีบดอกชั้นในสั้นและแคบกว่าชั้นนอก (ภาพ
๑)
ที่มาของชื่อเรียกดอกจำปา สันนิษฐานว่า
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เพราะชื่อวิทยาศาสตร์ของจำปา มีคำลงท้ายว่า champaca
(จัมปากะ) ซึ่งเป็นชื่อของจำปาในประเทศอินเดีย ภาษาฮินดี เรียกว่า
จัมปา ส่วนภาษาสันสกฤตเรียก จัมปกะ
แสดงว่าชื่อวิทยาศาสตร์ของจำปามาจากภาษาสันสกฤตเช่นกัน ดังนั้นชื่อเรียกของดอกจำปา
น่าจะมีที่มาจากอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ
สำหรับคำว่า จำปา ในพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ ๕ ประการ ได้แก่
๑. เป็นชื่อไม้ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง
มีดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม สีเหลืองอมส้ม
และเป็นภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ดอกลั่นทมหรือดอกลีลาวดี
๒. เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็นกลีบเหมือนกลีบดอกจําปา
๓. แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปา ซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน ใช้ยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน
๔. ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้
๕. เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์หรือวิหารในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม
๒. เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็นกลีบเหมือนกลีบดอกจําปา
๓. แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปา ซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน ใช้ยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน
๔. ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้
๕. เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์หรือวิหารในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม
จากความหมายข้างต้นคำว่า “จำปา” ถูกนำชื่อมาเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกับดอกจำปา
แสดงให้เห็นว่าเป็นดอกไม้ที่รู้จักและนิยมของคนไทยในสมัยโบราณ ชื่อ ดอกจำปา
น่าจะเป็นชื่อที่มีความสัมพันธ์กับดอกลั่นทม จำปาลาว จำปาขอม และกัมโพชะ
ในภาษาอินโดนิเซีย ชาวลาวเรียกดอกลั่นทมหรือลีลาวดีในชื่อของไทย เรียกว่า ดอกจำปา
เป็นดอกไม้ประจำชาติถือว่าเป็นดอกไม้มงคล
แสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อจากอินเดียเกี่ยวกับดอกจำปาได้กระจายไปยังดินแดนเอเซียอาคเนย์อย่างกว้างขวาง
คติความเชื่อเกี่ยวกับดอกจำปา
ในสมัยโบราณเชื่อว่าดอกจำปาเป็นดอกไม้มีความหมายมงคลตามคติความเชื่อที่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย
สันนิษฐานว่าชาวอินเดียคงนำคติความเชื่อเกี่ยวกับดอกจำปาเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิพร้อมกับ
การติดต่อค้าขาย และเผยแพร่อารยธรรม
โดยผ่านความเชื่อทางศาสนามาสู่คนพื้นเมือง
เริ่มเป็นที่รู้จักเฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองเท่านั้น
ตามคติความเชื่อทางศาสนาของชาวฮินดูถือว่าต้นจำปาเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์
เช่นเดียวกับต้นโพธิ์ ต้นไทร มักจะปลูกไว้ตามสถานที่เคารพ
ไม่หักกิ่งก้าน นิยมนำดอกจำปาไปบูชาเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
สำหรับคติของพุทธศาสนา (มหายาน) เชื่อว่าต้นจำปากะเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในอนาคต
มีหนังสือเกี่ยวกับอนาคตพระพุทธเจ้ากล่าวว่า
พระพุทธเจ้าในอนาคตจะได้ตรัสรู้ที่ใต้ต้นจำปา ตัวอย่างเช่น ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อัตถทัสสีพุทธวงศ์กล่าวไว้ว่า “พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑๗ พระนามว่า พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่
๘ เดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้จำปาป่า” [๒]
ดอกจำปาจึงเป็นดอกไม้มงคลและศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสองศาสนา
นอกจากนี้คนไทยสมัยโบราณนิยมนำมา ทัดหู ห้อยผม ทำพวงมาลัย ฯลฯ
น่าจะปฏิบัติเช่นเดียวกับชาวอินเดียเห็นได้จากการนำดอกจำปามาทัดหู แซมผม
ห้อยประดับมงกุฎ สังเกตได้จากการแต่งกายของ ตัวแสดงในการแสดงนาฏศิลป์
ตัวพระตัวนางจะห้อยดอกจำปาปลอมที่ข้างหู และในงานหัตถกรรมเครื่องแขวนของไทย
นิยมทำเป็นดอกจำปาห้อยไว้ที่ชาย แสดงถึงความนิยมและความสำคัญของดอกจำปา ในราชสำนักและกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ดอกจำปาเป็นดอกไม้ชั้นสูง
ในราชสำนักสยามรู้จักการประดิษฐ์ดอกจำปาด้วยวัสดุมีค่า เช่น แผ่นทองคำ
หรือแผ่นเงิน เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมหรือเป็นเครื่องประดับในพระราชพิธี
โดยไม่พบหลักฐานการประดิษฐ์ดอกจำปาทองคำครั้งแรก
Post a Comment